Connect with us

ข่าวประชาสัมพันธ์

ชมรมผู้ป่วยโรคหืด รพ.ธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว “Asthma Care” แอพฯ ฟรีบเพื่อผู้ป่วยโรคหืด

Published

on

ชมรมผู้ป่วยโรคหืด โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว “Asthma Care” แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด แห่งแรกในวงการแพทย์ไทย

Asthma care app1-side

ชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดตัว “Asthma Care” แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด เสมือนมีพยาบาลส่วนตัวช่วยให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการดูแลรักษาโรคหืด ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดที่มีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยพ่นยาไม่ทันและพ่นยาผิดวิธีได้

รศ.นพ.จิตตินัดด์  หะวานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า ชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้เปิดตัว “Asthma Care” (แอสท์ม่า แคร์) แอพพลิเคชั่นที่ให้บริการดาวน์โหลดฟรีบนอุปกรณ์มือถือเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืด โดยแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะทำหน้าที่เสมือนเป็นพยาบาลส่วนตัวช่วยให้คำแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพ การใช้ยา การพ่นยา และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการหอบ ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแห่งแรกและแห่งเดียวในวงการแพทย์ของประเทศไทย

“แอพพลิเคชั่น Asthma Care จะช่วยให้ความรู้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดให้สามารถปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธีทั้งในเวลาปกติและเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ โรคหืดเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ โดยทั่วไปจะมีอาการไอในตอนเช้าและตอนกลางคืน คัดจมูก น้ำมูกไหล ปัจจุบันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 จากประชากรทั้งหมดในประเทศไทย มีประชากรที่เป็นโรคหืดประมาณ 3 ล้านคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตปีละเกือบ 1,000 คน ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดมักจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ และโดยส่วนใหญ่แล้วโรคหืดมักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยจะเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ 2-5 ขวบแรก และในผู้ใหญ่จะเริ่มประมาณ 30 ปีขึ้นไป” รศ.นพ.จิตตินัดด์ กล่าว

รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ประธานชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหืดเสียชีวิต คือ เมื่อมีอาการแล้วดูแลตัวเองไม่ได้ พ่นยาไม่ทัน จึงทำให้เสียชีวิต เพราะฉะนั้นทีมงานแพทย์และบุคลากรทางการพยาบาลจะสอนผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการณ์เมื่อมีอาการหืดกำเริบหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าอาการหอบ เช่น เมื่อหอบแล้วต้องทำอย่างไร มีอาการขนาดไหนถึงต้องมาโรงพยาบาล ซึ่งจำเป็นต้องสอนบ่อย ๆ ซ้ำๆ เพราะผู้ป่วยจำไม่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่า บางคนมีอาการหอบแค่ครั้งเดียวในหนึ่งปี เมื่อเกิดอาการขึ้นมาไม่สามารถจำกระบวนการแก้ปัญหาช่วยเหลือตัวเองได้ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาแพทย์จะให้แผ่นพับแก่ผู้ป่วยและญาติไปอ่าน แต่ผู้ป่วยมักจะทำแผ่นพับหาย ต่อมาสังเกตว่าในทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน จึงได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นโปรแกรมที่จะช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่เป็นหืดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเกิดหืดกำเริบ

“Asthma Care เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย เมื่อผู้ป่วยมีอาการหอบเกิดขึ้นให้กดรูปรถพยาบาลก็จะมีวิธีการดูแลเมื่อเกิดอาการหอบว่าจะต้องดูแลตนเองอย่างไร รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง โดยสีเขียวหมายถึงไม่หอบ สีเหลืองหมายถึงเริ่มหอบ ดูวิธีการดูแลเบื้องต้น และสีแดงหมายถึงเป็นหอบมาก จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลทันที รวมทั้งในส่วนอื่น ๆ จะสอนเรื่องวิธีการพ่นยา การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น รวมถึงการประเมินตนเอง เพราะผู้ป่วยจะได้ทราบว่าในเดือนที่ผ่านมาหรือในปีที่ผ่านมาตนเองหอบไปกี่ครั้ง เพื่อจะได้ให้ข้อมูลกับแพทย์ได้ถูกต้องและมีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ได้ นอกจากนี้แพทย์ยังต้องการให้ผู้ป่วยพ่นยาทุกวันและมาพบแพทย์ตามนัด เพราะโรคหืดจำเป็นจะต้องใช้ยาทุกวันตลอดชีวิต โดยมีการตั้งค่าเตือนว่า เมื่อใดต้องพ่นยา ตั้งเตือนการพบแพทย์ สามารถดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินและสามารถดูแลตัวเองในระยะยาวได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นผู้ช่วยที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหืดในอนาคตได้ และจะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดที่มีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยพ่นยาไม่ทันและพ่นยาผิดวิธีได้มาก”

สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดยผู้ใช้สามารถหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง เช่น หืด หอบ ฉุกเฉิน ปอด การพ่นยา เป็นต้น จากนั้นก็จะปรากฏโปรแกรม Asthma Care ขึ้นมาให้สามารถดาวน์โหลดได้ ซึ่งขณะนี้สามารถใช้ในสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบ iOS เท่านั้น และกำลังพัฒนาให้ใช้ได้กับระบบ Android ในเร็ว ๆ นี้เพื่อให้ครอบคลุมกับผู้ป่วยที่ใช้สมาร์ทโฟนในทุกรุ่น สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ คุณพัชรา บุญญอนุชิต โทร. 0 2926 9973-4

Advertisement

กำลังฮอต

Apple News4 วัน ago

AIS เปิดบริการ AIS Care+ with AppleCare Services รายแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ผู้ใช้อุ่นใจมากขึ้น สบายใจที่สุด

AIS คว้า AppleCare S...

Featured4 สัปดาห์ ago

รีวิว vivo Y100 5G สนุกกับสเปกเต็ม 100 ด้วยขุมพลัง SD 4 Gen 2 5G ดีไซน์อัปเกรดสุดพรีเมียม พร้อมชาร์จเร็ว 80W FlashCharge

รีวิว vivo Y100 5G น...

Featured1 เดือน ago

รีวิว realme 12+ 5G | realme 12 Pro+ 5G “Be a Portrait Master” ด้วยกล้อง Periscope ระดับเรือธง | ดีไซน์นาฬิกาหรู | ชาร์จไว 67W SUPERVOOC

รีวิว realme 12+ 5G ...

Featured1 เดือน ago

รีวิว Xiaomi 14 | 14 Ultra เรือธงกล้องเทพในสองขนาด พร้อมการถ่ายภาพและวิดีโอระดับ Next-Generation ของ Leica!

รีวิว Xiaomi 14 Seri...

Featured2 เดือน ago

รีวิว vivo V30 Pro 5G สมาร์ตโฟน “Portrait So Pro” ถ่ายเทพเกินคนด้วยกล้องขั้นสูงควบคู่เลนส์ ZEISS ระดับโปร พร้อมเทคโนโลยีระดับเรือธง

รีวิว vivo V30 Pro 5...

vivo launches Y100 Enjoy 100 full specs at a price of 8299 baht vivo launches Y100 Enjoy 100 full specs at a price of 8299 baht
ข่าวประชาสัมพันธ์1 ชั่วโมง ago

vivo เปิดตัว Y100 สมาร์ตโฟนน้องเล็ก สีเขียวฉ่ำรับซัมเมอร์ พร้อมสนุกกับสเปกเต็ม 100 ในราคา 8,299 บาท วางจำหน่ายแล้ววันนี้!

vivo แบรนด์สมาร์ตโฟน...

Android News1 ชั่วโมง ago

หลุดสเปคหน้าจอ OnePlus 13 ใช้ LTPO 2K+ สแกนนิ้วแบบ Ultrasonic พร้อมชิป SD 8 Gen 4

OnePlus 13 เตรียมเป็...

HarmonyOS2 ชั่วโมง ago

HUAWEI ตั้งเป้าปล่อย HarmonyOS ในระดับ Global พร้อมเป็น OS ที่ 3 บนสมาร์ทโฟน

ระหว่างงาน Analyst S...

IT News4 ชั่วโมง ago

กลับมาอีกครั้งกับเวทีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในไทยของวงการเกมและอีสปอร์ต Thailand Social AIS Gaming Awards 2024 ที่สุดแห่งรางวัลโซเชียลสายเกมและอีสปอร์ต!

       AIS ผนึกกำลัง...

Apple News4 ชั่วโมง ago

สรุปมาให้แล้ว ! รวมผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ลุ้นเปิดตัวในงาน Apple Event ‘Let Loose’ วันที่ 7 พ.ค. นี้

เมื่อคืนนี้ Apple ได...

Advertisement

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก