Connect with us

IT News

Google ร่วมกับ YouTube ครีเอเตอร์ จัดกิจกรรม “Safer Songkran” ช่วงสงกรานต์ปีใหม่ไทย สร้างคอนเทนต์เพื่อช่วยปกป้องคนไทยให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์และรับมือกับข่าวลวง

Published

on

Google ประเทศไทย ร่วมกับ YouTube ครีเอเตอร์ จัดกิจกรรม “Safer Songkran” ภายใต้พันธกิจ Safer with Google ตลอดช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นเดือนแห่งการเฉลิมฉลองเทศกาลวันสงกรานต์และปีใหม่ไทย และเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยได้มีโอกาสเดินทางกลับไปใช้เวลาร่วมกับครอบครัว รวมไปถึงการใช้เวลาร่วมกันระหว่างการเดินทาง จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับ Google ในการช่วยสนับสนุนให้ผู้คนสามารถนำคำแนะนำจากคอนเทนต์ของเหล่าครีเอเตอร์นั้นจากกิจกรรม “Safer Songkran” ไปบอกเล่าและแนะนำสมาชิกในครอบครัวและบุคคลอันเป็นที่รักทั้งเด็กและผู้สูงวัย ที่เกี่ยวกับการทำอย่างไรถึงจะปลอดภัยในโลกออนไลน์และเคล็ดลับการรับมือกับข่าวลวงในชีวิตประจำวัน 

แจ็คกี้ หวาง Country Director, Google ประเทศไทย กล่าวว่า “เทศกาลสงกรานต์ในทุกๆ ปีเป็นช่วงเวลาที่คนไทยส่วนใหญ่จะเดินทางกล้บบ้าน แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา  ที่ทำให้คนไทยไม่สามารถเดินทางกลับไปทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวได้เหมือนเคย ดังนั้น ในปีนี้เมื่อประเทศไทยได้มีการผ่อนคลายมาตรการการเดินทาง เราจึงได้จัดกิจกรรมพิเศษโดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้คนในครอบครัวได้ใช้โอกาสที่ได้พบปะกันครั้งนี้แบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้วยกัน เพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถอยู่บนโลกออนไลน์ได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยด้วยเครื่องมือและฟีเจอร์ต่างๆ ของ Google ที่เราได้มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อง่ายสำหรับผู้ใช้งานในการปรับตั้งค่าความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น”

กิจกรรม “Safer Songkran” ที่ Google ได้จัดขึ้นตลอดทั้งเดือนเมษายนสำหรับผู้ใช้งานบนโลกออนไลน์และออฟไลน์ ได้แก่ การจัดทำคอนเทนต์ร่วมกับ 5 YouTube ครีเอเตอร์ชื่อดัง โดยแบ่งเป็นออกเป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ ได้แก่ ช่อง Bie The Ska, ple nakorn CHANNEL และ Peanut Butter และคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเคล็ดลับการรับมือกับข่าวลวง ได้แก่ช่อง เกษียณสำราญ และ Paul Pattarapon นอกจากนี้ Google ยังได้ร่วมมือกับ ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท และ โคแฟค (ประเทศไทย) ซึ่งทั้ง 2 องค์กรนี้เป็นพันธมิตรของเราด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่แชร์กันบนโซเชียล รวมทั้ง เพื่อช่วยเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องและไขข้อสงสัยที่เป็นประโยชน์ในประเด็นที่เป็น กระแสในสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่รอบตัวเรา”

พีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้ดำเนินรายการ ‘ชัวร์ก่อนแชร์’ กล่าวว่า “ในแต่ละวันมีการแชร์ข้อมูลเผยแพร่ผ่านโซเชียลเป็นจำนวนมาก บางครั้งไม่มีการตรวจข้อมูลนั้นก่อนว่า “จริง แชร์ได้” “จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์” หรือ “ไม่จริง อย่าแชร์” บางเนื้อหาสามารถสร้างความเสียหายให้กับครอบครัวจนถึงสังคมไทย อันตรายถึงขั้นการเสี่ยงต่อชีวิต อย่างไรก็ตาม เรื่องที่น่าชื่นชมซึ่งพบเห็นได้มากขึ้น คือ มีผู้คนหลากหลายช่วงวัย ไม่ยอมปล่อยให้ข้อมูลเท็จมาหลอกลวง พากันตื่นตัวลุกขึ้นมาฝึกฝนและใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีในอุปกรณ์พกพา ตรวจสอบข้อเท็จจริงหาข้อเท็จจริงแบบ ‘Fact Checker’ ร่วมกันไปกับเรา สื่อมวลชน หน่วยงานทางการ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญอีกมากมาย กลายเป็น “วัคซีนไซเบอร์” ที่เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันป้องกันสารพัดภัยออนไลน์ให้กับตนเองและสังคม และนอกจากนี้ เครื่องมือที่ Google มีไว้ให้ค้นหาเรื่องที่เราอยากรู้ก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างดีและคล่องตัว ไม่ว่าจะเป็น ช่องทางการค้นหาตามปกติ คำสั่งค้นหาขั้นสูง การค้นหาแบบเทียบรูปภาพ (Reverse Image Search) รวมไปถึงแท็กการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Check Tag และ Fact Check Explorer) ที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานมานี้” 

สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้ง โคแฟค (ประเทศไทย) กล่าวว่า “โคแฟค เป็นนวัตกรรม “Fact Checker” มีเจตนารมณ์เพื่อช่วยให้คนไทยไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวลวงที่มีอยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ในทุกรูปแบบ มีกาารทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายป้องกันและตรวจสอบข่าวลวงต่างๆ ปัจจุบัน คนไทยกำลังเผชิญปัญหาข่าวลวงที่ระบาดหนักในสังคมโดยเฉพาะทางสังคมออนไลน์  ไม่ว่าจะเป็นความรู้ความเข้าใจที่ผิดๆ ด้านสุขภาพโดยเฉพาะในการระบาดของโควิด-19 การหลอกขายสินค้า แชร์ลูกโซ่ การพนันออนไลน์ ข่าวภัยพิบัติต่างๆ ทั้งนี้ เรามีการสร้างพื้นที่ให้มีการแสวงหาข้อเท็จจริงร่วมกันด้วยการเปิดเวทีตลาดทางความคิดเห็นที่หลากหลายเพื่อสร้างสุขภาวะร่วมกันของสังคมไทย”  

อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวเสริมว่า “ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti Fake News Center : AFNC) ได้รับแจ้งเบาะแส และติดตามการสนทนาบนโลกออนไลน์เกี่ยวกับข่าวปลอมจำนวนมาก ดังนั้น ในช่วงที่ข่าวปลอมและการหลอกลวงทางออนไลน์แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง กระทรวงฯ ขอความร่วมมือประชาชนไม่หลงเชื่อในทันที มีสติ รู้เท่าทัน ระมัดระวังการส่งต่อข้อมูลผ่านโซเชียล ทั้งนี้ ความเท่าทันต่อข่าวปลอม และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก โครงการ Safer Songkran จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ประชาชนจะสามารถอัปเดตความรู้ เพื่อปกป้องตัวเองและคนที่คุณรักได้”

นอกจากนี้  Google ยังได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเคล็ดลับความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ เพื่อเป็นการช่วยให้คนไทยสามารถอยู่บนโลกออนไลน์และออฟไลน์ได้อย่างปลอดภัยได้ทุกเพศทุกวันและทุกเวลา

กำลังฮอต

Featured1 สัปดาห์ ago

รีวิว realme 12+ 5G | realme 12 Pro+ 5G “Be a Portrait Master” ด้วยกล้อง Periscope ระดับเรือธง | ดีไซน์นาฬิกาหรู | ชาร์จไว 67W SUPERVOOC

รีวิว realme 12+ 5G ...

Featured2 สัปดาห์ ago

รีวิว Xiaomi 14 | 14 Ultra เรือธงกล้องเทพในสองขนาด พร้อมการถ่ายภาพและวิดีโอระดับ Next-Generation ของ Leica!

รีวิว Xiaomi 14 Seri...

Featured3 สัปดาห์ ago

รีวิว vivo V30 Pro 5G สมาร์ตโฟน “Portrait So Pro” ถ่ายเทพเกินคนด้วยกล้องขั้นสูงควบคู่เลนส์ ZEISS ระดับโปร พร้อมเทคโนโลยีระดับเรือธง

รีวิว vivo V30 Pro 5...

Featured4 สัปดาห์ ago

รีวิว vivo V30 5G สมาร์ตโฟน “Portrait So Pro” ถ่ายเทพเกินคนด้วยออร่าพอร์ตเทรต 3.0 พร้อมกล้อง 50MP ทุกเลนส์

รีวิว vivo V30 5G สม...

Android News1 เดือน ago

แกะกล่องพรีวิว vivo V30 5G ถ่ายพอร์ตเทรตเทพเกินคนด้วยกล้อง 50MP พร้อม Aura Light Portrait 3.0 ที่อัปเกรดขึ้นมาใหม่

แกะกล่องพรีวิว vivo ...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก