Connect with us

IT News

Facebook แนะนำ 6 วิธีรักษาบัญชีผู้ใช้ของคุณให้ปลอดภัยจากการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งและสแกม

Published

on

หนึ่งในพันธกิจของ Facebook คือการเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แบ่งปันและสร้างการเชื่อมต่อที่มีความหมายร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับเพื่อนและครอบครัว การสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่นที่พวกเขาชื่นชอบ หรือการสร้างชุมชนตามความสนใจ การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่น ประสบการณ์ และช่วงเวลาที่มีความหมายมากที่สุดสำหรับพวกเขา

เราเข้าใจดีว่าผู้คนต้องการที่จะเชื่อมบน Facebook ได้อย่างปลอดภัยและเราเองก็ต้องการให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้งาน Facebook ด้วยเช่นกัน และนั่นคือเหตุผลที่เรามีเครื่องมือและฟีเจอร์ที่หลากหลายที่พร้อมให้บริการผู้ใช้งานทุกคน เพื่อช่วยให้บัญชีผู้ใช้ของพวกเขาปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังทำงานอย่างเต็มกำลังในการพัฒนา ดำเนินการ และอัพเดทนโยบายของเรา เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจและการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายจากโปรไฟล์และเพจที่มีวัตถุประสงค์ในการหลอกลวงและประสงค์ร้าย

ในประเทศไทย ผู้คนเข้าใจความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์โดยทั่วไป แต่เมื่อนำความรู้นั้นมาใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงมักไม่เป็นไปตามสิ่งที่คิดไว้ การศึกษาเกี่ยวกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย[1]ที่จัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า 44.5 เปอร์เซ็นต์ ละเลยการตรวจสอบที่อยู่เว็บไซต์ที่พวกเขาใช้เพื่อทำธุรกรรมออนไลน์ว่าปลอดภัยหรือไม่ และ 43 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าพวกเขาเคยเปิดลิงค์และอีเมล์ที่ไม่น่าไว้วางใจมาก่อน ซึ่งต่างแสดงให้เห็นว่าพฤติกรรมที่แท้จริงของคนไทยนั้นมีความเสี่ยงมากกว่าที่คิด นอกจากนี้ ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ล้วนแต่มีความเสี่ยงทั้งนั้น การศึกษา 2 ชิ้นที่จัดทำขึ้นโดยซิสโก (Cisco)[2] เมื่อไม่นานมานี้ ระบุว่ามีการรายงานการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งจำนวนหลายหมื่นครั้งทั่วโลกในแต่ละเดือน และโดยเฉลี่ยแล้ว มีพนักงาน 2 คนที่ทำงานอยู่ในธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดย่อมมักดาวน์โหลดข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ[3] ซึ่งนำมาสู่ภัยคุกคามภายในองค์กร

บน Facebook แอดมินของกลุ่มสำหรับชุมชน เจ้าของเพจธุรกิจ สื่อมวลชน ครีเอเตอร์ และโปรไฟล์ของบุคคลที่มีชื่อเสียงต่างๆ ควรให้ความสำคัญสูงสุดกับความปลอดภัยของบัญชีผู้ใช้ เพราะอาจตกเป็นเป้าหมายของผู้ประสงค์ร้ายที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลการติดต่อและข้อมูลที่มีความอ่อนไหวอื่นๆ และนี่คือเคล็ดลับสำคัญจาก Facebook ในการหลีกเลี่ยงการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งและสแกม ซึ่งเป็นรูปแบบอาชญากรรมในโลกไซเบอร์ที่เป็นปัญหามาอย่างยาวนาน

ฟิชชิ่งคืออะไร

ฟิชชิ่งคือการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เมื่อมีบุคคลพยายามที่จะเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ Facebook ของคุณด้วยการส่งข้อความหรือลิงค์ที่ไม่น่าไว้วางใจ ฟิชชิ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งอีเมล์ โปรไฟล์ในโซเชียลมีเดีย โพสต์ และข้อความ หรือเว็บไซต์ปลอม โดยทั่วไปแล้ว นักต้มตุ๋นจะอ้างตัวว่าเป็นพนักงานจากบริษัทที่มีชื่อเสียงหรือแกล้งปลอมตัวเป็นบุคคลที่คุณรู้จัก เพื่อขอให้คุณให้ข้อมูลรหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ และหากพวกเขาสามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้งานของคุณได้ พวกเขาอาจใช้บัญชีของคุณในการส่งสแปมอีกด้วย 

วิธีการป้องกันการถูกหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง

1. ระวังอีเมล์หรือข้อความที่ไม่น่าไว้วางใจ อีเมล์ที่มาจาก Facebook เกี่ยวกับบัญชีผู้ใช้ของคุณจะประกอบด้วย fb.comfacebook.com หรือ facebookmail.com เสมอ และคุณยังสามารถเยี่ยมชม www.facebook.com หรือเข้าไปที่หน้าแอพ Facebook ของคุณเพื่อตรวจสอบข้อความสำคัญจากเรา นอกจากนี้ อย่าหลงเชื่อข้อความที่ขอเงิน ให้ของขวัญ หรือข่มขู่ว่าจะลบหรือแบนบัญชีผู้ใช้ Facebook ของคุณ

2. อย่าเผยข้อมูลการเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณเป็นอันขาด
Facebook จะไม่ถามรหัสผ่านของคุณผ่านอีเมล์ หรือส่งรหัสผ่านให้คุณเป็นไฟล์แนบเป็นอันขาด และคุณควรหลีกเลี่ยงการเผยข้อมูลการเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้กับผู้อื่นด้วยเช่นกัน

3. อย่าคลิกไปที่ลิงค์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
หากคุณเห็นอีเมล์ ข้อความ หรือโพสต์ที่ไม่น่าไว้วางใจและอ้างว่ามาจากFacebook อย่าคลิกไปที่ลิงค์หรือไฟล์แนบเหล่านั้น

  • เคล็ดลับเพิ่มเติม: หากลิงค์นั้นมีลักษณะที่ไม่น่าไว้วางใจ คุณจะเห็นชื่อหรือ URL ที่อยู่ด้านบนของเพจปรากฏเป็นสีแดงพร้อมสัญลักษณ์สามเหลี่ยมสีแดงเป็นการแจ้งเตือน

 4. อย่าตอบกลับอีเมล์เหล่านี้
อย่าตอบกลับข้อความที่ขอรหัสผ่าน เลขประกันสังคม หรือข้อมูลบัตรเครดิตของคุณ

5. จัดการและรายงานไปที่Facebook
หากอีเมล์หรือข้อความ Facebook ที่คุณได้รับมีลักษณะที่น่าสงสัย คุณสามารถรายงานไปที่ phish@fb.com หรือหากคุณต้องการรายงานบทสนทนา คุณควรถ่ายภาพหน้าจอไว้ก่อนที่คุณจะลบหน้าบทสนทนานั้นทิ้งไป โดยข้อความต่างๆ จะยังไม่ถูกลบออกจากอินบ็อกซ์ของฝ่ายตรงข้าม นอกจากนี้ คุณยังสามารถรายงานเนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือสแปมบน Facebook ผ่านลิงค์การรายงานที่จะปรากฏอยู่ใกล้ๆ ตัวเนื้อหาอีกด้วย

6. ใช้งานฟีเจอร์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่างๆ รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเข้าสู่ระบบที่ไม่คุ้นเคยและตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบสองขั้นตอนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีผู้ใช้ของคุณ และเพื่อป้องกันตัวเองจากผู้ประสงค์ร้าย ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งหรือสแกม คุณควรใส่ใจกับ “สัญญาณแจ้งเตือน” เพิ่มเติมที่อาจช่วยบ่งบอกว่าคุณกำลังตกเป็นเหยื่อของคนร้ายได้

  • วิธีการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งส่วนใหญ่มักเป็นการหลอกลวงที่เกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ด้วยความพยายามที่จะสร้างความเข้าใจผิด นักต้มตุ๋นมักจะปลอมตัวเป็นบุคคลที่คุณรู้จักและขอความช่วยเหลือและเงินจากคุณ ในบางครั้ง พวกเขาอาจปลอมตัวเป็นเพื่อนหรือญาติของคุณ และแสร้งว่ากำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • นักต้มตุ๋นบางคนอาจส่งข้อความแนวโรแมนติกหาคุณ ด้วยความหวังที่จะได้รับความไว้วางใจจากคุณอย่างรวดเร็ว แต่ระวังเอาไว้เพราะในตอนสุดท้าย พวกเขามักจะขอให้คุณส่งเงินไปให้ หรือนำข้อมูลส่วนตัวของคุณไปเผยแพร่
  • อีกกลวิธีคือการส่งข้อความหาคุณที่เชื่อมต่อคุณไปยังเพจเพื่ออ้างสิทธิในการรับรางวัล ซึ่งคุณจะต้องชำระค่าสมาชิก จ่ายค่าธรรมเนียม หรือแชร์ข้อมูลส่วนตัวของคุณในการอ้างสิทธิเพื่อรับรางวัลนั้น แต่ข้อความเพื่อการหลอกลวงเหล่านี้มักเป็นข้อความที่สะกดผิดและผิดหลักการใช้ภาษา ดังนั้น หากคุณพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว คุณจะสามารถสังเกตได้ว่าลิงค์นั้นเป็นของปลอม

ข้อควรปฏิบัติหากคุณคิดว่าโดนหลอกลวงไปแล้ว
หากคุณได้ให้ข้อมูลชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านในลิงค์ที่ไม่น่าเชื่อถือโดยไม่ได้ตั้งใจ ผู้อื่นอาจเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณได้ คำแนะนำคือควรทำใจเย็นๆ เอาไว้และปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้

  • หากคุณยังสามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณได้ รักษามันด้วยการตั้งค่ารหัสผ่านใหม่และออกจากระบบจากอุปกรณ์ที่คุณไม่รู้จักทันที
  • หากคุณไม่สามารถเข้าสู่ระบบบัญชีผู้ใช้ของคุณได้ และชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณไม่สามารถทำงานได้ปกติ ใช้เครื่องมือกู้คืนบัญชีของคุณ
  • ตรวจสอบว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับบัญชีผู้ใช้ของคุณหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบกิจกรรมที่ผ่านมาและอีเมล์ที่ได้รับเมื่อเร็วๆ นี้ จาก Facebook
  • หากคุณรู้สึกว่าคุณตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม กรุณาแจ้งความกับตำรวจในบริเวณใกล้เคียง และหากคุณได้ให้ข้อมูลบัตรเครดิตของคุณโดยไม่ได้ตั้งใจ รีบแจ้งทางธนาคารหรือบริษัทบัตรเครดิตของคุณทันที นอกจากนี้ อย่าลืมรายงานบุคคลหรือบัญชีผู้ใช้นั้นกับทาง Facebook ด้วย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้กับบัญชีผู้ใช้ของคุณ กรุณาเยี่ยมชม https://www.facebook.com/help/

NetSIM 2025 NetSIM 2025
Buying Guides1 วัน ago

เปรียบเทียบ ซิมเทพ เน็ตซิม เล่นเน็ตไม่อั้นนาน 1 ปี ไม่ต้องเติมเงิน ปี 2025

เปรียบเทียบ ซิมเทพ เ...

AIS pays for the 700 MHz frequency wave AIS pays for the 700 MHz frequency wave
IT News1 วัน ago

AIS ชำระค่าคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz งวดที่ 5 ตอกย้ำความแข็งแกร่งโครงข่าย 5G อัจฉริยะ เพื่อคนไทย

บริษัท แอดวานซ์ ไวร์...

HUAWEI FreeClip Rose Gold HUAWEI FreeClip Rose Gold
News1 วัน ago

HUAWEI FreeClip แรงไม่หยุด! เตรียมเปิดตัวสีใหม่ Rose Gold เผยความหรูหราผสานดีไซน์ที่ใช้งานง่ายหูฟังไร้สายที่ต้องมีสำหรับทุกไลฟ์สไตล์

กระแสดีต่อเนื่องจนฉุ...

IT News1 วัน ago

สรุปข่าวรอบสัปดาห์ระหว่างวันที่ 18 – 24 ม.ค. 68

ข่าวเด่นช่วงสิ้นปีระ...

Android News1 วัน ago

ลองก่อนได้…Samsung ชวนสัมผัสประสบการณ์ One UI 7 กับ Try Galaxy เวอร์ชั่นใหม่ เปลี่ยนมือถือของคุณเป็น Galaxy S25 ไปเลย!

Samsung ออกแคมเปญ Tr...

Infinix New Year Celebrate Infinix New Year Celebrate
News1 วัน ago

อินฟินิกซ์จัดโปรฯ “New Year Celebrate” ลดสูงสุด 10,000 บาท และลดหย่อน Easy E-Receipt 2568

คุ้มสองต่อ! อินฟินิก...

Android News1 วัน ago

บางกันถ้วนหน้า! จอมหลุดบอก vivo, OPPO และ Xiaomi เตรียมเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นบางเฉียบคล้าย S25 Edge ด้วยในปีนี้

Samsung ชิงเผยโฉม Ga...

Android News2 วัน ago

อ๊ะอ่าว…หลุดข้อมูล Galaxy S25 Edge จาก 3C มีแบตฯแค่ 3900mAh พร้อมชาร์จไว 25W เท่านั้น!?

Galaxy S25 Slim มีข่...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก