Connect with us

IT News

ดีแทค จับมือ TES เปิดเส้นทาง ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ‘ทิ้งให้ดี’ ที่ดีแทค เป้าหมาย ZERO Landfill ภายในปี 2565

Published

on

ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ คัดเลือกบริษัทที่ให้บริการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานสากล จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อคืนโลหะมีค่าและวัตถุดิบสำคัญ สู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ได้ 96-98% ของจำนวนขยะที่เก็บได้

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ทิ้งให้ดี_11.png

โดยดีแทคร่วมกับเทส (TES Total Environmental Solutions) หนึ่งในบริษัทรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทคเลือก ให้จัดการขยะอย่างมีความรับผิดชอบ ดีแทคเริ่มต้นที่กระบวนการจัดหาบริษัทรีไซเคิลตามนโยบายการจัดซื้อจัดหาสินค้าและบริการ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ E-WasteJ-04.png

เส้นทางขยะเริ่มต้นที่ ถังสีฟ้า ‘ทิ้งให้ดี’ สู่เป้าหมาย Zero Landfill

ดีแทคทำงานร่วมกับเทสมานาน 8 ปี เมื่อเทสรับซากโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์เสริมต่างๆ จากโครงการ “ทิ้งให้ดี” มาถึงยังโรงงานแล้ว เทสจะทำการตรวจนับและชั่งน้ำหนัก เพื่อรายงานจำนวนและน้ำหนักและสถานที่รับเพื่อแจ้งให้ดีแทคทราบและยืนยันว่าได้รับอุปกรณ์เป็นที่เรียบร้อย จากนั้นจะนำเข้าพื้นที่จัดเก็บและจะทำการคัดแยกวัสดุตามประเภทหลักๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ แบตเตอรี่ หูฟัง สายชาร์ตแบตเตอรี่ พาวเวอร์แบงค์ เป็นต้น

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ทิ้งให้ดี_5.jpg
รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ทิ้งให้ดี_2.jpg

เพื่อนำวัสดุหลักดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการแกะแยก เช่น โทรศัพท์มือถือ หลังการแกะแยกจะทำการบรรจุวัสดุตามแต่ละประเภท วัสดุทั้งหมดจะถูกนำส่งออกไปยังโรงงานของเทสที่สิงคโปร์ เพื่อทำลายหน่วยความจำในเครื่อง และสกัดเป็นโลหะมีค่า ได้แก่ ทองคำ ทองแดง พาราเดี้ยม เหล็ก อลูมิเนียม ลิเทียม และวัสดุประเภทพลาสติก

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ทิ้งให้ดี_14.jpg


เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าใหม่ส่งต่อไปที่ประเทศสิงคโปร์ ทั้งนี้ 96-98% ของขยะทั้งหมดที่ดีแทคเก็บได้สามารถนำเข้าสู่กระบวนกำจัดที่ถูกต้อง และช่วยลดการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือลดคาร์บอนฟุตพรินต์ รวมทั้ง ไม่ทิ้งเศษซากขยะเป็นขยะฝังกลบเลย หรือ Zero Landfill ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555

ทิ้งให้ดี ทิ้งที่ดีแทค

จากการสำรวจพฤติกรรมการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เมื่อไม่ใช้งานแล้วของสำนักสิ่งแวดล้อม พบว่า กว่าร้อยละ 50% ของผู้ใช้งานจะเลือกขายซากขยะอิเล็กทรอนิกส์กับผู้รับซื้อของเก่า หรือ รถขายของเก่า ซึ่งมักจะนำขยะไปแยกชิ้นส่วน โดยจะเลือกเฉพาะส่วนที่มีมูลค่าเพื่อนำไปขายต่อได้ และจะกำจัดซากขยะที่เหลือด้วยการทิ้งปะปนกับขยะทั่วไป

ปัญหาสำคัญที่พบคือ การทิ้งซากผลิตภัณฑ์ปะปนกับขยะทั่วไป และการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อแหล่งน้ำ พื้นดิน และอากาศ

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ทิ้งให้ดี_7.jpg

นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอคเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ ต้องการเป็นทางออกที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ให้สามารถทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทมือถือและอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานไม่ได้แล้วอย่างอย่างถูกวิธี ปลอดภัยต่อเพื่อนร่วมโลกและรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 

โดยในแต่ละปี ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม เป็นผู้จัดจำหน่ายมือถือหลายแสนเครื่องต่อปี เราจึงมุ่งมั่นนำขยะมือถือจากผู้ใช้งาน ซึ่งคิดเป็น 19% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีแทคเก็บได้ เข้าสู่กระบวนการการรีไซเคิลและไม่มีเศษขยะที่เหลือไปฝังกลบ (ZERO Landfill) ซึ่งเราทำได้แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 

ดีแทค ‘ทิ้งให้ดี’ จัดการขยะโครงข่ายสัญญาณและอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินธุรกิจ

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจการให้บริการด้านโทรคมนาคม ส่วนใหญ่มาจากโครงข่ายสัญญาณ เฉพาะในปี พ.ศ. 2562 ดีแทคสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 213,476 ชิ้น แบ่งเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับจากผู้ใช้งานทั่วไป จำนวน 46,221 ชิ้น คิดเป็น 21% และขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นจากการการขยายโครงข่าย 167,255 ชิ้น หรือคิดเป็น 79% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เก็บได้

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ ทิ้งให้ดี_12.png

ดีแทคจึงให้ความสำคัญกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เริ่มตั้งแต่สถานที่ที่ใช้เก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เสื่อมสภาพ โดยจะต้องเป็นคลังสินค้าที่มีระบบการควบคุมรักษาความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานซึ่งจะไม่สร้างความเสียหายหรือมลภาวะใดๆ สู่ชุมชนรอบข้าง

สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มาจากหน่วยงานภายในดีแทค อย่างศูนย์บริการดีแทคและสำนักงาน ส่วนใหญ่เป็นเครื่องโทรศัพท์มือถือสำหรับทดลองใช้ อุปกรณ์เสริมที่ตกรุ่น เป็นต้น ดีแทคจะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจำนวนและสภาพของอุปกรณ์โดยเฉพาะ หากยังมีสภาพดี ก็จะนำกลับมาใช้ซ้ำในกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม ส่วนที่เสื่อมสภาพถาวรแล้ว ก็จะเข้ากระบวนการกำจัดและรีไซเคิลต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.dtac.co.th/sustainability/ewaste/

กำลังฮอต

Featured1 สัปดาห์ ago

รีวิว realme 12+ 5G | realme 12 Pro+ 5G “Be a Portrait Master” ด้วยกล้อง Periscope ระดับเรือธง | ดีไซน์นาฬิกาหรู | ชาร์จไว 67W SUPERVOOC

รีวิว realme 12+ 5G ...

Featured2 สัปดาห์ ago

รีวิว Xiaomi 14 | 14 Ultra เรือธงกล้องเทพในสองขนาด พร้อมการถ่ายภาพและวิดีโอระดับ Next-Generation ของ Leica!

รีวิว Xiaomi 14 Seri...

Featured3 สัปดาห์ ago

รีวิว vivo V30 Pro 5G สมาร์ตโฟน “Portrait So Pro” ถ่ายเทพเกินคนด้วยกล้องขั้นสูงควบคู่เลนส์ ZEISS ระดับโปร พร้อมเทคโนโลยีระดับเรือธง

รีวิว vivo V30 Pro 5...

Featured4 สัปดาห์ ago

รีวิว vivo V30 5G สมาร์ตโฟน “Portrait So Pro” ถ่ายเทพเกินคนด้วยออร่าพอร์ตเทรต 3.0 พร้อมกล้อง 50MP ทุกเลนส์

รีวิว vivo V30 5G สม...

Android News1 เดือน ago

แกะกล่องพรีวิว vivo V30 5G ถ่ายพอร์ตเทรตเทพเกินคนด้วยกล้อง 50MP พร้อม Aura Light Portrait 3.0 ที่อัปเกรดขึ้นมาใหม่

แกะกล่องพรีวิว vivo ...

Copyright © 2012 iphone-droid.net.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ ดูเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการได้ที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึก